News Ticker

มหาวิทยาลัยไต้หวันพัฒนาวิธีการใหม่ในการรักษาโรคพาร์กินสัน

Logo

ซินจู๋ ไต้หวัน–(บิสิเนสไวร์)–12 มี.ค. 2563

อัลตร้าซาวด์เป็นกระบวนการตรวจร่างกายที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีแผนจะประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคพาร์คินสัน สมองเสื่อม และโรคเบาหวาน  ทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัย National Tsing Hua University (NTHU) นำโดยรองศาสตราจารย์ Yu-Chun Lin จาก Institute of Molecular Medicine และศาสตราจารย์ Chih-kuang Yeh ของ Department of Biomedical Engineering and Environmental Sciences ได้ประสบความสำเร็จในการรักษาอาการของโรคพาร์คินสันในหนูโดยการฉีดโปรตีนเซลลูล่าร์ที่มีความไวต่อคลื่นอัลตร้าซาวด์สูงในบริเวณสมองส่วนลึกและหลังจากนั้นใช้อัลตร้าซาวด์เพื่อกระตุ้นเซลล์ประสาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มีมัลติมีเดีย อ่านฉบับเต็มได้ที่: https://www.businesswire.com/news/home/20200311005032/en/

A research team led by Yu-Chun Lin (left) and Chih-kuang Yeh of NTHU has expanded application of ultrasound to the treatment of Parkinson's disease. (Photo: National Tsing Hua University)

ทีมวิจัยนำโดย Yu-Chun Lin (ซ้าย) และ Chih-kuang Yeh จาก NTHU ได้ขยายการประยุกต์ใช้อัลตราซาวด์ไปยังการรักษาโรคพาร์กินสัน (ภาพ: National Tsing Hua University)

งานวิจัยนวัตกรรมของทางมหาวิทยาลัยได้ตีพิมพ์ใน Nano Letters ฉบับเดือนมกราคมและได้จดสิทธิบัตรในไต้หวันและสหรัฐอเมริกาแล้ว

รองศาสตราจารย์ Lin ได้พยายามค้นหาวิธีการควบคุมการทำงานของเซลล์ที่ปลอดภัยและไม่รุกรานมาเป็นเวลานาน  แม้ว่าคลื่นแสงจะปลอดภัยแต่สามารถเจาะเข้าไปในระดับความลึกประมาณ 0.2 ซม. เท่านั้นและขาดความแม่นยำ  ในทางกลับกันคลื่นอัลตร้าซาวด์จะแทรกซึมได้ลึกถึง 15 ซม. และสามารถเล็งไปที่ส่วนที่ต้องการ  ดังนั้นความโจทย์ต่อไปคือวิธีการทำให้เซลล์ตอบสนองต่ออัลตร้าซาวด์

รองศาสตราจารย์ Lin กล่าวว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทั้งหมดมีโปรตีนความดันหูสูงที่มีชื่อว่าเพรสติน  อย่างไรก็ตามเพรสตินในร่างกายมนุษย์มีความไวต่ออัลตร้าซาวด์น้อย  ในทางกลับกันเพรสตินในปลาโลมา ปลาวาฬ และค้างคาวโซนาร์มีความไวสูงต่อคลื่นเสียงความถี่สูง  ในเปรียบเทียบลำดับโปรตีนเพรสติน Lin พบว่าสัตว์เหล่านี้มีกรดอะมิโนพิเศษ โดยได้นำมารวมตัวกันในเซลล์ของหนูเพื่อปรับเปลี่ยนโปรตีนเพรสติน  สิ่งนี้ส่งผลให้ความสามารถของเซลล์ในการรับอัลตร้าซาวด์เพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าทันที

เป้าหมายต่อไปของรองศาสตราจารย์ Lin คือการหาวิธีใช้อัลตราซาวด์ในการรักษาโรค ซึ่งเขาได้หันไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านอัลตราซาวด์ ศาสตราจารย์ Yeh ผู้ที่ได้คิดค้นวิธีการใส่ชิ้นส่วนของยีนเพรสตินในฟองอากาศขนาดเล็กซึ่งสามารถนำเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายโดยการฉีด  ทันทีที่มีการใช้อัลตร้าซาวด์ ฟองอากาศจะแตกตัวและนำชิ้นส่วนของยีนเข้าสู่เซลล์เป้าหมายเพื่อเปิดใช้งานความสามารถในการตรวจจับและตอบสนองต่ออัลตร้าซาวด์

“โรคพาร์กินสันและโรคอัลไซเมอร์เกิดจากการเสื่อมสภาพและการตายของเซลล์ในสมอง  เมื่อมีการปลูกถ่ายเซลล์ที่มีชิ้นส่วนของยีนเพรสตินในพื้นที่เป้าหมายนั้นสามารถใช้อัลตราซาวนด์ในการกระตุ้นเซลล์ที่เสื่อมเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อระบบประสาทใหม่ได้" ศาสตราจารย์ Yeh กล่าว

ทางทีมงานได้จัดทำวิดีโอแสดงหนูที่เป็นโรคพาร์กินสันหยุดตัวในขณะที่ข้ามสะพานและและการที่หนูตัวเดิมนี้สามารถข้ามสะพานอย่างง่ายดายหลังจากที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์  นอกจากนี้ยังพบว่าการรักษามีผลทำให้ระดับโดปามีนในสมองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการรักษาโรคพาร์กินสัน รองศาสตราจารย์ Lin กล่าวว่ากระบวนการเดียวกันนี้ยังสามารถใช้รักษาโรคเบาหวานด้วยการกระตุ้นเซลล์ที่ผลิตอินซูลิน

อ่านต้นฉบับบน businesswire.com: https://www.businesswire.com/news/home/20200311005032/en/

ติดต่อ:

Holly Hsueh
(886) 3-5162006
hoyu@mx.nthu.edu.tw

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*


Protected with IP Blacklist CloudIP Blacklist Cloud