News Ticker

ศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น: ผลการศึกษาของ AJC ชี้แจงความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายคุณค่าทั่วโลกในอาเซียนและเสนอแนวทางให้รัฐบาลในการดำเนินการเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

Logo

โตเกียว–(BUSINESS WIRE)–01 ก.ย. 2017

ศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Center – AJC) ได้แถลงผลการศึกษาเกี่ยวกับเครือข่ายมูลค่าทั่วโลก (Global Value Chains – GVC) ในอาเซียน (www.asean.or.jp/en/centrewide_en/)  การศึกษานี้ให้การวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับ GVC ในอาเซียนและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาลอาเซียนในการเพิ่มผลประโยชน์และลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ GVC อย่างยั่งยืนมากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์สมาร์ทนี้มีคุณลักษณะด้านมัลติมีเดีย ดูฉบับเต็มได้ที่นี่: http://www.businesswire.com/news/home/20170831005448/en/

Figure 1. Domestic value added in exports as a share of GDP, 2013 (Graphic: Business Wire)

ภาพที่ 1. มูลค่าเพิ่มในการส่งออกที่สร้างขึ้นในประเทศคิดเป็นส่วนแบ่งของ GDP 2556 (กราฟฟิก: Business Wire)

การศึกษาซึ่งมีชื่อว่า “เครือข่ายมูลค่าทั่วโลก ในอาเซียน: มุมมองของภูมิภาค” เป็นหนึ่งในเอกสาร 16 ชุดที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ GVC ในอาเซียน  AJC ได้ออกบทความเกี่ยวกับประเทศฟิลิปปินส์ในเดือนกรกฎาคมปี 2017 และอีก 14 ฉบับจะผลิตในภายหลัง (เชิงอรรถ 1)  เอกสารเหล่านี้ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการค้าขายมูลค่าเพิ่มซึ่ง AJC ได้จัดทำร่วมกับ Eora (เชิงอรรถ 2) และการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา

ข้อค้นพบที่สำคัญได้แก่:

GVC ในอาเซียนสามารถพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคได้อย่างมาก  มูลค่าเพิ่มในการส่งออกของอาเซียนที่สร้างขึ้นในประเทศ (domestic value added – DVA) เป็นสัดส่วนของ GDP ของอาเซียนในปี 2013 เกือบร้อยละ 35 (รูปที่ 1) DVA เป็นส่วนหนึ่งของการส่งออกที่ก่อให้เกิด GDP ของตัวเอง

การมีส่วนร่วมใน GVC ของอาเซียนมีสัดส่วนที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหภาพยุโรป  การส่งออกมูลค่าเพิ่มจากอาเซียนมีมูลค่า 1,418 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2013  ร้อยละ 38 หรือ 532 พันล้านดอลลาร์เกิดจากการนำเข้าจากต่างประเทศ ที่เหลือร้อยละ 62 หรือ 886 พันล้านดอลลาร์เกิดจากมูลค่าที่สร้างขึ้นภายในประเทศ (รูปที่ 2)  มูลค่าของการนำเข้าที่แต่ละประเทศใช้ในการเพิ่มมูลค่าส่งออกของประเทศตนเองเรียกว่า Foreign Value Added (FVA) ซึ่งเป็นส่วนต้นทางของห่วงโซ่มูลค่า  ในบรรดาปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศที่ใช้ในการส่งออกของอาเซียนประเทศต้นทางที่สำคัญที่สุดจนถึงต้นปี 2000 คือประเทศญี่ปุ่น ตามด้วยสหรัฐอเมริกา (รูปที่ 3)  อย่างไรก็ตามทั้งสองประเทศมีบทบาทที่ลดลงในการส่งออกสินค้าอาเซียนตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 2000 เป็นต้นมา  ในทางกลับกันปัจจัยการผลิตที่จีนมีต่ออาเซียนได้เพิ่มขึ้น

การส่งออกจากอาเซียนสามารถใช้เป็นผลิตภัณฑ์ขั้นกลางในการส่งออกของประเทศอื่น ๆ  ส่วนปลายทางของห่วงโซ่มูลค่านี้เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของ GVC  การผสมผสานส่วนต้นทางและปลายทางเข้าด้วยกันที่เรียกว่ามูลค่าเพิ่มในประเทศที่รวมเข้ากับการส่งออกของประเทศอื่น ๆ (domestic value added integrated into other countries' exports – DVX) ระบุถึงการมีส่วนร่วมใน GVC ทั้งหมด  ระดับการมีส่วนร่วมนี้อยู่ที่ 65% ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่เป็นอันดับสองในกลุ่มภูมิภาคในโลก (รูปที่ 4)  สองในสามของการส่งออกของอาเซียนมีส่วนเกี่ยวข้องกับ GVC

การมีส่วนร่วมใน GVCs นั้นมีค่าใช้จ่าย  บทบาทที่ GVC มีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอาจมีข้อจำกัดหากสัดส่วนที่ GVC มีต่อ GDP น้อยเพราะสัดส่วน FVA ที่สูงและหากประเทศเหล่านี้ยังผูกติดกับกิจกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ

AJC เสนอกรอบนโยบายที่จำเป็นสำหรับ GVC ในอาเซียน: การเข้าถึง GVC, ผลประโยชน์จากการมีส่วนร่วมของ GVC, และการตระหนักถึงโอกาสในการอัพเกรด GVC  โครงร่างทั่วไปประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้:

·         การเพิ่ม GVC เข้าไปในกลยุทธ์การพัฒนาโดยรวมและนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม

·         การช่วยให้ GVC รักษาสภาพแวดล้อมทางการค้าและการลงทุนที่เอื้ออำนวยและการวางโครงสร้างพื้นฐานไว้ล่วงหน้า

·         การสร้างศักยภาพการผลิตในบริษัทท้องถิ่น

·         การลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของ GVC ซึ่งต้องใช้นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี และ

·         การปรับนโยบายการค้าและการลงทุน ซึ่งหมายถึงการระบุความร่วมมือระหว่างสองประเด็นนโยบายและในสถาบันที่เกี่ยวข้อง

เชิงอรรถ 1: การศึกษานี้เกิดจากการวิจัยช่วงแรกเป็นระยะเวลาหลายปีโดยการผลิตและการอัปเดตข้อมูลห่วงโซ่คุณค่าสำหรับแต่ละประเทศของอาเซียนทำให้เกิดเอกสารการวิเคราะห์ตามผลของข้อมูลเหล่านี้  โครงการหลายปีนี้จะมีการจัดทำรายงานด้านเทคนิค 16 ฉบับตามหลักฐานและรายงานเชิงนโยบายซึ่งประกอบไปด้วย รายงานทั่วไปเกี่ยวกับอาเซียน (รายงานฉบับที่ 1) รายงานเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ (รายงานฉบับที่ 2-11) และ 5 อุตสาหกรรม (เอกสาร 12-16) ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ สิ่งทอและเสื้อผ้าธุรกิจ การเกษตร และการท่องเที่ยว

เชิงอรรถ 2: Eora หรือโครงการ Eora มีพื้นฐานอยู่ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์และประกอบด้วยทีมนักวิจัยนานาชาติที่พัฒนา "ฐานข้อมูลการป้อนและรับข้อมูลจากหลายภูมิภาค" (multi-region input-output database – www.worldmrio.com)  ฐานข้อมูลนี้เป็นพื้นฐานสำหรับการประเมินมูลค่าการค้ามูลค่าเพิ่มและถูกใช้ในโครงการ AJC เกี่ยวกับ GVCs

เกี่ยวกับศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น (AJC)

ศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น (AJC) เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศญี่ปุ่นในปี 1981  AJC ได้ส่งเสริมการส่งออกจากอาเซียนไปสู่ญี่ปุ่นพร้อมกับการช่วยฟื้นฟูการลงทุน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนอาเซียนกับประเทศญี่ปุ่น .

URL: http://www.asean.or.jp/en/

ดูเวอร์ชันต้นฉบับที่ businesswire.com: http://www.businesswire.com/news/home/20170831005448/en/

ติดต่อ:

ASEAN-Japan Centre
Ms. Hiroko Ishige, +81-3-5402-8118
Planning & Coordination Office
ajc-pr@asean.or.jp

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*


Protected with IP Blacklist CloudIP Blacklist Cloud