ดัชนีชี้วัดความดีของ Centre for Asian Philanthropy and Society นำทางไปสู่โลกหลังโควิด-19

Logo

  • ปัญหาในการตอบสนองความต้องการด้านสังคมที่เพิ่มขึ้นของรัฐจำเป็นต้องได้รับความเชื่อเหลือจากภาคเอกชนและสังคม
  • นโยบายที่สมดุลกัน สิ่งจูงใจ สามารถผลักดันให้เงินทุนจากภาคเอกชนเข้าสู่ภาคสังคมได้ ซึ่งจะทำให้รัฐเพิ่มประสิทธิผลได้มากขึ้น

ฮ่องกง–(BUSINESS WIRE)–18 มิถุนายน 2563

วันนี้ Centre for Asian Philanthropy and Society (CAPS) ได้เผยแพร่รายงานดัชนีความดี หรือ Doing Good Index (DGI2020) ฉบับที่สอง โดยการศึกษานี้เผยให้เห็นถึงบทบาทอันสำคัญของภาคสังคมและวิธีที่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียเข้ามาช่วยหรือขัดขวางบทบาทนั้น รายงาน DGI2020 ไม่เพียงแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลจะต้องทำงานกันมากขึ้น แต่การบริจาคโดยภาคเอกชน/องค์กรจะต้องเข้ามามีส่วนในการตอบสนองความต้องการของผู้คนด้วย

“ขณะนี้ การหยุดชะงักในวงกว้างซึ่งมีสาเหตุจากโรคระบาดและตามมาด้วยผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สร้างความยากลำบากอย่างมากให้กับผู้คนที่มีความเปราะบางที่สุดในชุมชน เราจะต้องสร้างสังคมขึ้นมาใหม่” Ronnie Chan ประธาน CAPS กล่าว “ดัชนีความดีของ CAPS นำเสนอกลยุทธ์ต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้ภาคสังคมเข้ามามีบทบาทในการสร้างอนาคตที่ดีกว่าในทั่วทั้งเอเชียได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

หลังเกิดการระบาดของโควิด-19 การให้เพื่อการกุศลได้มุ่งความสำคัญมาที่การตอบสนองของชุมชนในท้องถิ่น การสนับสนุนในระดับนานาชาติกำลังลดลงและองค์กรการกุศล “Asia for Asia” ต้องเข้ามาเติมเต็มช่องว่างนี้ หากชาวเอเชียบริจาคเป็นจำนวนเท่ากับ 2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศนั้น ๆ เงินบริจาคจะมีมูลค่าเท่ากับ 5.87 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งตัวเลขนี้สูงกว่าความช่วยเหลือจากต่างประเทศถึง 12 เท่า และมีมูลค่าเกือบ 40% ของเงินมูลค่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องจ่ายทุกปีเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปีพ.ศ. 2573 ขององค์การสหประชาชาติ

“ความมั่งคั่งของเอเชียคิดเป็นสัดส่วนหนึ่งในสามของโลก แต่จำนวนคนจนยังมีมากถึงสองในสามของโลก” Dr. Ruth Shapiro ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ CAPS กล่าว “ตอนนี้เรามีโอกาสที่หาได้ยากในการใช้ความมั่งคังที่เกิดขึ้นใหม่นี้บรรเทาความขาดแคลน ปกป้องสิ่งแวดล้อม และรณรงค์เรื่องความยืดหยุ่นทางสังคม”

รายงาน DGI2020 ได้ระบุแนวโน้มอย่างกว้างทั่วทั้งเอเชียไว้หลายข้อ ดังนี้:

1. การเข้ามามีส่วนร่วมของรัฐบาลมีความสำคัญ ดังนั้นนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับภาคสังคมไม่เพียงมีผลกระทบโดยตรงแต่ยังเป็นมุมมองที่ส่งสัญญาณที่ขยายผลกระทบนั้น

  • ปัจจุบัน 45% ขององค์กรพัฒนาสังคม (SDO) ในเอเชียได้รับเงินจากแหล่งสนับสนุนต่างประเทศ  (ราว 25% ของงบทั้งหมด) แต่เศรษฐกิจในประเทศเอเชียมากกว่าครึ่งต่างกำลังประสบปัญหาการสนับสนุนด้านเงินทุนจากต่างประเทศที่ลดลง

2.ภาษีและนโยบายด้านการเงินคือสิ่งจูงใจหลักให้เกิดการให้เพื่อการกุศล แต่ความสับสนในวงกว้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ทำให้การบริจาคถูกระงับอยู่บ่อยครั้ง

  • 25% ขององค์กรพัฒนาสังคมในเอเชียไม่ทราบว่าการบริจาคเพื่อการกุศลสามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีได้

3. การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐบาลสามารถเป็นต้นทางการเติบโตที่สำคัญสำหรับภาคสังคม แต่ระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังทำได้ไม่ดีนักทางด้านนี้

  • 61% ขององค์กรพัฒนาสังคมที่มีสัญญากับรัฐบาลพบความยากลำบากในการเข้าถึงข้อมูลจัดซื้อจัดจ้าง

4. รัฐบาลปรึกษาองค์กรพัฒนาสังคมเกี่ยวกับปัญหาด้านนโยบายมากขึ้น

  • องค์กรสามในสี่แห่งทำการสำรวจรายงานที่เข้าไปมีส่วนในการให้คำปรึกษาด้านนโยบาย พบว่าเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ถึงครึ่ง

5. ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) และการเป็นพันธมิตรระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณะและเอกชนกำลังมีบทบาทมากขึ้นในเอเชีย

  • ระบบเศรษฐกิจ 11 ใน 18 แห่งเผยว่ากิจกรรม CSR และการเป็นพันธมิตรระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณะและเอกชนกำลังเป็นที่สนใจมากขึ้น

งานวิจัย DGI2020 ได้ทำการสำรวจองค์กรพัฒนาสังคม 2,189 แห่งและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจาก 145 ประเทศใน 18 ระบบเศรษฐกิจในเอเชีย ได้แก่บังกลาเทศ กัมพูชา จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย เมียนมา เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม

ดาวน์โหลดรายงาน DGI2020 ที่นี่

เกี่ยวกับ CAPS

CAPS ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2556 อุทิศตนให้กับการพัฒนาด้านการให้เพื่อการกุศลทั่วทั้งเอเชียทั้งในเรื่องของจำนวนและคุณภาพ CAPS มีสำนักงานอยู่ในฮ่องกง ได้ทำการวิจัยด้านต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้บริจาคและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรด้านสังคม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยและบริการโดย CAPS สามารถดูได้ที่: http://caps.org/

ดูเนื้อหาต้นฉบับที่ businesswire.comhttps://www.businesswire.com/news/home/20200617005325/en/

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือนัดหมายสัมภาษณ์ โปรดติดต่อ:

Thomas Rippe
โทร: +852 5597 8567
อีเมล: thomas.rippe@fleishman.com

Gayatri Bery
โทร: +852 3616 0835
อีเมล: gayatri@caps.org

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*


Protected with IP Blacklist CloudIP Blacklist Cloud