News Ticker

ข้อมูลเชิงลึกจาก FICO ระบุว่า เกือบ 3 ใน 4 ของคนไทยมีรายได้ลดลงเนื่องจากโรคระบาด หลายคนจะเปลี่ยนไปใช้ธนาคารที่มอบข้อเสนอที่ดีกว่าในปี 2565

Logo

ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนธนาคารในปี 2565 สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง

กรุงเทพมหานคร–(BUSINESS WIRE)–19 กรกฎาคม 2565

FICO (NYSE: FICO)

ประเด็นสำคัญ

  • 70% (เกือบ 3 ใน 4) ของลูกค้าธนาคารรายย่อยของไทยได้รับผลกระทบเชิงลบด้านรายได้เนื่องจากโรคระบาด
  • ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเงินที่ไม่แน่นอน ลูกค้าธนาคารส่วนใหญ่ในประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ออมทรัพย์ (73%) และการลงทุน (66%)
  • 1 ใน 5 ของลูกค้าธนาคารไทยที่มีกำลังซื้อสูงจะเปลี่ยนไปใช้ธนาคารอื่นที่มอบข้อเสนอด้านการเงินที่ดีที่สุด

รายงานการคาดการณ์ด้านธนาคารสำหรับลูกค้าหลังเกิดโรคระบาดปี 2565 ของ RFI Global ซึ่งจัดทำให้กับ FICO ยืนยันว่าการแพร่ระบาดได้สร้างความลำบากทางการเงินแก่กลุ่มลูกค้ารายย่อยในประเทศไทย โดยเกือบ 3 ใน 4 ของลูกค้าประสบปัญหารายได้ลดลง นอกจากนี้ยังเปิดเผยว่า ลูกค้าหลายคนมีแรงจูงใจในการมองหาข้อเสนอด้านการเงินที่ดีกว่า และแนวโน้มการเปลี่ยนสถาบันสำหรับกู้เงินก็เพิ่มขึ้นทุกปีอีกด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.fico.com/en/how-banking-expectations-asia-pacific-are-changing-post-pandemic

ผลกระทบที่สร้างการเปลี่ยนแปลงจากโรคระบาดแตกต่างกันไปทั่วทั้งภูมิภาค

ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามชาวนิวซีแลนด์และออสเตรเลียจำนวน 23-30% ได้รับผลกระทบเชิงลบด้านรายได้อันเนื่องมาจากโรคระบาด แต่ตัวเลขนี้กลับสูงขึ้นเป็น 40% ในสิงคโปร์และอินเดีย 50% ในมาเลเซีย และ 63% ในอินโดนีเซีย ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยได้รับผลกระทบมากที่สุด โดย 70% ระบุว่ารายได้ของพวกเขาลดลง

รายงานเปิดเผยว่าผู้บริโภคมากกว่า 1 ใน 4 ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (27%) ได้ชะลอการผ่อนชำระเงินกู้ โดยผู้บริโภคในบางประเทศมีแนวโน้มที่จะชะลอการผ่อนชำระเงินกู้มากกว่าประเทศอื่น ๆ ขณะที่ลูกค้าธนาคารรายย่อยในประเทศไทยเกือบครึ่งหนึ่ง (47%) และเกือบ 1 ใน 3 (31%) ในอินเดียได้ชะลอการชำระคืนเงินกู้อันเป็นผลจากโรคโควิด-19 เช่นเดียวกันกับ สิงคโปร์ (12%) ออสเตรเลีย (9%) เปอร์เซ็นต์) และนิวซีแลนด์ (7%)

แม้สถานการณ์ทางการเงินจะยังไม่แน่นอน ลูกค้าธนาคารรายย่อยส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีการวางแผนที่จะคงไว้หรือเพิ่มการลงทุน (66%) โดยลูกค้าส่วนใหญ่กำลังมองหาการคงไว้หรือเพิ่มเงินออม (73%) และหลายคนจะพิจารณาเปลี่ยนผู้ให้บริการด้านการเงินในปีนี้

ลูกค้าตั้งใจที่จะเปลี่ยนผู้ให้บริการด้านการเงินมากขึ้น

ที่น่าแปลกคือ รายงานระบุว่าลูกค้าส่วนใหญ่พอใจกับผู้ให้บริการด้านการเงินหลักของตนมาก แต่ลูกค้าธนาคารในเอเชียแปซิฟิกมากถึง 20% ที่ตอบว่ามีแผนจะเปลี่ยนธนาคารในปี 2565 ในทางตรงกันข้าม มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่บอกว่าพวกเขาได้เปลี่ยนธนาคารในปี 2564

แนวโน้มการเปลี่ยนผู้ให้บริการกู้เงินที่เพิ่มขึ้นนี้มีอัตราสูงสุดในกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง (หมายถึงตลาดระดับสูงหรือผู้ที่มีสินทรัพย์เพื่อการลงทุนรวมอย่างน้อย 3,000,000 บาท)

ในประเทศไทย ลูกค้าธนาคารรายย่อย 13% และลูกค้ากลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง 8% ได้เปลี่ยนธนาคารในปี 2564 ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในปีนี้สำหรับกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง โดย 20% กล่าวว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยน จำนวนลูกค้าธนาคารรายย่อยมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 10% ซึ่งคิดเป็นลูกค้าธนาคารจำนวน 1 ใน 10 ราย

เหตุผลหลักที่ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยกล่าวถึง ได้แก่ สถานการณ์ส่วนบุคคลที่เปลี่ยนแปลง (28%) ความต้องการที่จะรวมบัญชีทั้งหมดกับสถาบันการเงินอื่น (22%) ความต้องการในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการด้านการลงทุนและการบริหารความมั่งคั่งที่ดีขึ้น (20%) และผลตอบแทนที่จะได้รับจากสถาบันการเงินอื่น (20 เปอร์เซ็นต์)

กลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบทางการเงิน

ในบรรดาลูกค้าธนาคารที่มีกำลังซื้อสูงในประเทศไทย 63% มีรายได้ลดลงเนื่องจากโรคระบาด ซึ่งน้อยกว่าลูกค้าธนาคารรายย่อยในประเทศไทย 7% ส่งผลให้กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงในประเทศจำนวน 41% ชะลอการผ่อนชำระเงินกู้ ซึ่งต่ำกว่าลูกค้าธนาคารรายย่อยของไทยทั้งหมด 6%.

การชะงักงันของรายได้นี้ทำให้ชาวไทยที่มีกำลังซื้อสูงจำนวน 37% ตั้งใจที่จะลดการใช้จ่าย เช่นเดียวกับครึ่งหนึ่งของลูกค้าธนาคารรายย่อยของไทย

กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะกู้ยืมมากขึ้นเมื่อเทียบกับตลาดในวงกว้าง (16% และ 8%) ขณะที่ประเทศไทย กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงมีแนวโน้มที่จะกู้ยืมเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันกับลูกค้าธนาคารรายย่อย (11% และ 12% ตามลำดับ)

รายงานยังระบุอีกว่า 78% ของกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงในประเทศไทยเลือกที่จะคงไว้หรือเพิ่มระดับการลงทุนกับธนาคาร ซึ่งสูงกว่าตลาดธนาคารรายย่อยโดยรวมของประเทศ (66%)

ผลกระทบของโรคระบาดต่อการเปลี่ยนผู้ให้บริการธนาคาร

ลูกค้ากำลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการธนาคารเพื่อตอบรับกับผลกระทบด้านการเงินที่เกิดจากโรคระบาด

ลูกค้าธนาคารรายย่อยของไทยประมาณ 3 ใน 4 จะเพิ่มหรือคงเงินออมไว้ (73%) ขณะที่ทั่วทั้งภูมิภาค ความรู้สึกในการคงไว้หรือเพิ่มเงินออมจะสูงที่สุดในนิวซีแลนด์ (94%) และในอินโดนีเซีย (87%)

แม้ว่าแผนกู้ยืมเงินจะลดลงทุกปี แต่ระดับการกู้ยืมสำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อยในเอเชียแปซิฟิกยังคงสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด เนื่องจากผู้บริโภคต้องรับมือกับผลกระทบที่ยืดเยื้อจากการชะงักงันดังกล่าว

Aashish Sharma ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายโซลูชันการจัดการการตัดสินใจของ FICO ในเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "โรคระบาดได้สร้างความยากลำบากด้านการเงินให้กับลูกค้าอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะมีรายได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากมีการทำสัญญากู้ยืมเงินและการใช้จ่าย ลูกค้าจึงมองหาหนทางที่จะเพิ่มความมั่นคงทางการเงินและเพิ่มเงินออม ธนาคารต้องจับจุดความต้องการของลูกค้าให้ได้อย่างทันท่วงที และปรับเปลี่ยนแนวทางเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลทางการเงิน ในขณะเดียวกันก็สร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของตนมีความเหมาะสมกับความสามารถในการจับจ่ายและความต้องการด้านการเงินของลูกค้า”

การมุ่งสู่ดิจิทัล

ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งของประเทศไทย (44%) ยังคงพิจารณาว่า ความใกล้ของระยะทางของสาขาและตู้เอทีเอ็มเป็นปัจจัยหลักสำหรับผู้ให้บริการหลักด้านการธนาคาร อย่างไรก็ตาม รายงานยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการให้บริการผ่านระบบดิจิทัลด้วย ลูกค้าธนาคารรายย่อยในเอเชียแปซิฟิกมากถึง 72% เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฟินเทคมากกว่าบริการหลักต่าง ๆ ของธนาคาร ซึ่งสูงที่สุดในมาเลเซีย (94%) และต่ำสุดในออสเตรเลีย (39%) ผู้ตอบแบบสอบถามก็เลือกฟินเทคเช่นเดียวกัน เพราะต้องการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ใช้งานง่าย และขั้นตอนการสมัครใช้งานง่ายขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2564 กับ 2562 ลูกค้าในเอเชียแปซิฟิกเริ่มหันมาสนใจช่องทางดิจิทัลมากขึ้นในทุกขั้นตอนตลอดเส้นทางการใช้งาน ได้แก่ การสอบถามและการค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้น (เพิ่มขึ้น 14%) การสอบถามเพื่อติดตามผล (เพิ่มขึ้น 15%) และแอปพลิเคชันธนาคาร (เพิ่มขึ้น 15%)

วิธีที่ธนาคารทำให้เห็นว่าลูกค้าเป็นศูนย์กลางของการดำเนินการและการตัดสินใจ

  • พลิกโฉมการดำเนินงานและการจัดเตรียมข้อมูลผ่านการใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ที่ชาญฉลาดมากขึ้นและแพลตฟอร์มการบริหารจัดการจากส่วนกลาง
  • ตัดสินใจที่อิงจากข้อมูลโดยคาดการณ์ วิเคราะห์ และเพิ่มประสิทธิภาพการโต้ตอบกับลูกค้าแบบเรียลไทม์สำหรับแนวทางการจัดการความสัมพันธ์ที่อิงตามเหตุการณ์และตามโปรไฟล์
  • พัฒนาข้อมูลเชิงลึกที่แม่นยำเพื่อโต้ตอบและมอบข้อเสนอที่เหมาะสมที่สุดให้แก่ลูกค้า
  • สร้างฝาแฝดดิจิทัล (แบบจำลองเสมือนประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับการจำลอง) เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และทดสอบแนวทางและกลยุทธ์ใหม่ ๆ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมที่มีต้นทุนและความเสี่ยงต่ำ
  • มอบข้อเสนอที่เหมาะกับแต่ละบุคคลและการดำเนินการกับลูกค้าในทิศทางที่ปรับเปลี่ยนได้

Sharma กล่าวว่า “ธนาคารต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าในระดับที่ลึกและละเอียดยิ่งขึ้น ไม่เช่นนั้นก็จะเสี่ยงที่จะเสียลูกค้าให้กับคู่แข่งและผู้ให้บริการเจ้าอื่น การรักษาความพึงพอใจของลูกค้าเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป ประสบการณ์การดูแลลูกค้าจะต้องได้รับการปรับปรุงอย่างมาก การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางจะเป็นกุญแจสำคัญในการมอบประสบการณ์ที่มีความเป็นส่วนตัวสูงและรักษาลูกค้าไว้อย่างต่อเนื่อง”

ระเบียบวิธีการวิจัย

การสำรวจครั้งนี้ดำเนินการในปี 2564 โดยบริษัทวิจัยอิสระที่ปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมการวิจัย โดยทำการสำรวจผู้ใหญ่จำนวน 1,012 คนในประเทศไทย พร้อมด้วยลูกค้าจำนวน 12,885 คนในมาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และอินเดีย

ศึกษาเพิ่มเติมที่นี่ และ www.fico.com

เกี่ยวกับ FICO

FICO (NYSE: FICO) ขับเคลื่อนการตัดสินใจที่ช่วยให้ผู้คนและธุรกิจทั่วโลกประสบความสำเร็จ บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2499 เป็นผู้บุกเบิกการใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์และวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน FICO ถือครองสิทธิบัตรเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศมากกว่า 200 รายการ ที่ช่วยเพิ่มผลกำไร ความพึงพอใจของลูกค้า และการเติบโตของธุรกิจในบริการทางการเงิน การผลิต โทรคมนาคม การดูแลสุขภาพ การค้าปลีก และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ด้านการใช้โซลูชันของ FICO ธุรกิจในกว่า 120 ประเทศทำทุกอย่างตั้งแต่ป้องกันอาชญากรรมบัตรชำระเงินจำนวน 2.6 พันล้านใบ เพื่อช่วยให้ผู้คนได้รับเครดิต และเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องบินและรถเช่าหลายล้านลำอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม

ศึกษาเพิ่มเติมที่ www.fico.com

FICO เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Fair Isaac Corporation ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ

ติดต่อ:

Neil Mirano 
RICE for FICO 
+65 3157 5680 
neil.mirano@ricecomms.com 

Saxon Shirley 
FICO 
+65 9171 0965 
saxonshirley@fico.com

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย