News Ticker

ห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกของเวียดนาม: การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ยังเป็นถามคำที่รัฐบาลต้องหาคำตอบเพื่อแก้ไขปัญหา ศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่น กล่าว

Logo

โตเกียว–(BUSINESS WIRE)–14 พ.ค. 2563

ถึงแม้ว่าเวียดนามซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกในช่วงทศวรรษ 1980 จะกลายมาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแบบการตลาด และที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีความโดดเด่นในปัจจุบัน แต่ความจริงที่ว่าประเทศสร้างมูลค่าเพิ่มจากการส่งออกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (หรือ 69,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562) ซึ่งถือเป็นเพียงหนึ่งในสี่ของมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (260,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) แสดงให้เห็นถึงปัญหาเชิงกลยุทธ์หลายประการต่อการพัฒนาของเวียดนาม ศูนย์อาเซียน – ญี่ปุ่นกล่าวไว้เช่นนั้นในรายงาน ห่วงโซ่มูลค่าโลกในอาเซียน: เวียดนาม หรือ Global Value Chains in ASEAN: Viet Nam [https://www.asean.or.jp/en/centre-wide-info/gvc_database_paper11/] ซึ่งได้รับการตีพิมพ์แล้ววันนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มีคุณสมบัติเป็นมัลติมีเดีย ดูฉบับเต็มได้ที่นี่: https://www.businesswire.com/news/home/20200513005939/en/

"Global Value Chains in ASEAN – Paper 11: Viet Nam" is available on AJC website. (Graphic: Business Wire)

รายงาน "Global Value Chains in ASEAN – Paper 11: Viet Nam"ตีพิมพ์แล้วบนเว็บ . (ภาพ: Business Wire)

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจำนวนมาก (FDI) โดยเฉพาะในด้านการแปรรูปเพื่อการส่งออกในเวียดนาม ย่อมหมายความว่า ประเทศเวียดนามได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก แต่ถึงแม้ว่าการส่งออกโดยรวมของเวียดนามจะเพิ่มขึ้น แต่สัดส่วนของการส่งออกที่ได้รับการเพิ่มมูลค่าภายในประเทศ (หมายถึง มูลค่าเพิ่มที่สร้างขึ้นในประเทศสำหรับการส่งออกของเวียดนาม) ต่อเศรษฐกิจของประเทศยังมีขนาดต่ำ โดยคิดเป็นเพียงร้อยละ 12 ของ GDP เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของอาเซียนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 33

ผลกระทบของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต่อเศรษฐกิจและการส่งออกขึ้นอยู่กับโครงสร้างมูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจเวียดนาม ซึ่งสำหรับภาครอง (ด้านการผลิต) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบได้แสดงผลที่มีการทวีคูณขนาดใหญ่ การทวีคูณผลกระทบที่มากขึ้น ก็จะหมายถึงการคาดหวังผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้นจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

ห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก หรือ Global value chains (GVCs) ของเวียดนามเป็นตัวระบุระดับที่ประเทศมีส่วนร่วมในเครือข่ายการผลิตระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยในช่วงระยะเวลาเกือบสามทศวรรษที่ผ่านมา ส่วนแบ่งของการมีส่วนร่วมของต่างประเทศในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกจากเวียดนามผันผวนอยู่ระหว่างร้อยละ 23 ถึง ร้อยละ 42 ก่อนที่จะมาทรงตัวที่ร้อยละ 32 ถึง 33  ในเวลานั้นสมาชิกอาเซียน สาธารณรัฐเกาหลี และจีนได้กลายเป็นผู้ส่งออกระดับกลางที่สำคัญไปยังประเทศอาเซียน และโดยการร่วมกับญี่ปุ่นพวกเขากลายเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกของเวียดนาม และมีส่วนร่วมอย่างยิ่งในการส่งออกโดยรวมของเวียดนาม สิ่งที่แตกต่างจากประเทศอาเซียนอื่น ๆ คือความสำคัญสัมพัทธ์ของปัจจัยการผลิตนำเข้าจากญี่ปุ่นและการใช้การใช้ปัจจัยการผลิตในการส่งออกของเวียดนามยังคงอยู่ที่ระดับสูง (ร้อยละ 7 ของการส่งออกทั้งหมด) ในขณะที่ประเทศอาเซียนอื่น ๆ ความสำคัญในด้านนี้ลดต่ำลงอยู่ตลอดเวลา

การเปลี่ยนแปลงของอัตราการมีส่วนร่วมของ GVC ของเวียดนามส่วนใหญ่เกิดจากส่วนต้นน้ำของห่วงโซ่ (เช่น การจัดหาปัจจัยการผลิต) มากกว่าจะเป็นที่ส่วนปลายน้ำ ซึ่งก็เป็นส่วนที่โดดเด่นมาตั้งแต่ปี 2533 โดยถึงแม้ว่าประเทศจะมีส่วนร่วมมากขึ้นในเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ ห่วงโซ่ที่สร้างขึ้นภายในภูมิภาคอาเซียน (ห่วงโซ่คุณค่าระดับภูมิภาค) กลับยังไม่แข็งแกร่งเท่ากับค่าเฉลี่ยของภูมิภาคอาเซียน

มีความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มขึ้นของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการเติบโตของการมีส่วนร่วมของเวียดนามใน GVC และทั้งสองสิ่งนี้ต่างสร้างประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจ โดยได้รับการพิสูจน์ให้เห็นเป็นประจักษ์แล้วว่าการมีส่วนร่วมของ GVC นั้นเกี่ยวข้องกับโอกาสสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น

เพื่อใช้ประโยชน์ในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เวียดนามควรปรับปรุงกรอบกฎหมายและขั้นตอนการบริหารเพื่อช่วยให้ภาคภายในประเทศรับมือกับความท้าทายในปัจจุบันและติดตามการปฏิรูปทางเศรษฐกิจภายใต้นโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ “โด่ย เหมย" เพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจำนวนมาก พร้อม ๆ ไปกับการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงและโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย

ดูเวอร์ชันต้นฉบับบน businesswire.com: https://www.businesswire.com/news/home/20200513005939/en/

ติดต่อ:

Tomoko Miyauchi

เว็บไซต์: https://www.asean.or.jp/en/

อีเมล: toiawase_ga@asean.or.jp

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*


Protected with IP Blacklist CloudIP Blacklist Cloud